ความรู้ที่ได้รับจากการไปภาคสนามในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย (ระยะเวลา1สัปดาห์)
จากการไปภาคสนามในครั้งนี้ภายใน1สัปดาห์ด้วยกัน แต่ละสถานที่ ที่ได้ไปนั้นทำให้ได้รับความรู้ต่างๆมากมายเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และทางด้านสังคมเป็นต้น
วันแรกของการไปภาคสนามได้ไปศึกษาที่พระราชวังสนามจันทร์ ณ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมเป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า เนินปราสาท ภายในประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างต่างๆมากมาย
วันที่2 เดินทางไปสถานที่โบราณสถานสมัยอยุธยา ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานที่แรกคือวัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าไท ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด
สถานที่ 2 คือวัดหน้าพระเมรุ วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุราชิการาม ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้นและวัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายเนื่องจากเป็นที่ตั้งของกองทัพพม่าและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีกอย่างหนึ่งวัดหน้าพระเมรุก็เป็นวัดเดียวที่พระพุทธรูปนั้นใส่เครื่องทรงกษัตริย์
สถานที่3 คือ วัดไชยวัฒนาราม วัดไชยวัฒนาราม โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด ภายในนั้นประดิษฐานด้วยสถาปัตยกรรมต่างๆ และวัดไชยวัฒนาราม มีพระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็ก
วันที่3 เดินทางไป 3 สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานฯ มีสถานที่สำคัญที่เป็นพระราชวัง
สถานที่2 คือสถานที่ท่องเที่ยววนอุทยานแพะเมืองผี จังหวัดแพร่ แพะเมืองผี เป็นพื้นที่เนินเขาซึ่งสูง เกิดจากการพังทลายโดยการกัดเซาะตามธรรมชาติ โดยกระแสน้ำเป็นเวลานาน ทำให้พื้นที่บางส่วนเป็นที่สูงต่ำสลับกันไป หน้าผาและเสาดินมีรูปทรงแตกต่างกัน
สถานที่3 คือวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง พระธาตุช่อแฮ อยู่ที่ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่
วันที่ 4 เดินทางไปยัง 4สถานที่ด้วยกัน สถานที่แรกคือ วัดร่องขุ่น ณ จังหวัเชียราย
สถานที่ 2ได้แก่สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สบรวก - สามเหลี่ยมทองคำ ตรงจุดบรรจบของลำน้ำรวกและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำรวกจากพม่าไหลลงสู่แม่น้ำโขง ก่อนแม่น้ำทั้งสองจะบรรจบกัน
สถานที่ 3 คือหอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น ห่างจากอำเภอเชียงแสน เป็นสถานที่จัดแสดงถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของฝิ่นในสามเหลี่ยมทองคำ ต้นกำเนิดฝิ่น สงครามฝิ่น ผู้นำฝิ่นเข้ามาในเอเชีย ผลกระทบของฝิ่น การยุติการดำรงชีวิตที่ต้องพึ่งพิงกับการปลูกฝิ่นและเสพฝิ่น การฟื้นฟูสภาพชีวิตประชาชน
สถานที่ 4 วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุง
สถานที่ 5 สวนแม่ฟ้าหลวงและพระตำหนักดอยตุง
สถานที่ 5 สวนแม่ฟ้าหลวงและพระตำหนักดอยตุง
วันที่ 5 ของการภาคสนามก็ได้เดินทางไปสถานที่แรกคือวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ
สถานที่ 2ได้แก่พระตำหนักภูพิง ดอยปุย กว๊านพะเยา
สถานที่เที่ยวชมจุดแรกสูงสุดของแดนสยามอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ “ดอยอินทนนท์" อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
วันที่ 6 ลงจากสถานที่บนดอยอินทนนท์ไปยังสู่ภาคกลาง คือ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 6 ลงจากสถานที่บนดอยอินทนนท์ไปยังสู่ภาคกลาง คือ กรุงเทพมหานคร
วันสุดท้ายของการไปภาคสนามได้เดินทางไปสถานที่ 3แห่งของ ภาคกลาง หลังจากนั้นเดินทางกลับมหาวิทยาลัยค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น