ยินต้อนรับ

by www.zalim-code.com

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13

คำถามที่ได้คิดวิเคราะห์        
       
๑.) ในปัจจุบันเด็กไทย ( รวมถึงผู้ใหญ่ไทย ) มีสุขนิสัยที่ดีในเรื่องพฤติกรรมการบริโภคพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมหรือไม่เพียงใด

           
ตอบ ไม่เหมาะสม เพราะบางคนเรียนหนักมากจนไม่มีเวลาดูแลตัวเองไม่ค่อยออกกำลังกายไม่เล่นกีฬาเอาแต่อ่านหนังสือและการเข้านอนก็เป็นสิ่งสำคัญควรจะรักษาเวลาในการเข้านอนหรือนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและอีกอย่างคือการบริโภคก็ควรที่จะควบคุมกินอาหารให้ครบห้าหมู่ทุกวันลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์
       
๒.) ในปัจจุบันเด็กไทย ( รวมถึงผู้ใหญ่ไทย ) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกายและได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด  (ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถามคำถามว่า  “มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่มีปฏิทินออกกำลังกายไหม
          
ตอบ เด็กไทยและผู้ใหญ่ในปัจจุบันไม่ค่อยสนใจในการออกกำลังกายและไม่ค่อยเล่นกีฬาสักเท่าไรพอเรียนเสร็จก็จะไปเที่ยว ส่วนผู้ใหญ่ก็ทำงานจนไม่มีเวลาออกกำลังกาย ในการออกกำลังในทุกวันก็ไม่ค่อยมีสักเท่าไรนักและเวลาไปพบแพทย์ แพทย์มักจะถามเรื่องของโรคประจำตัวโดยไม่ถามถึงการออกกำลังกาย เพราะคนที่มีโรคประจำตัวมักไม่ค่อยออกกำลังกายส่วนคนที่ออกกำลังเสมอจะมีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยจากโรคต่าง ๆ
      ๓.) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่เพียงใด (ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขันจะมี ๑ทีมที่ร้องไห้ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
         
ตอบ มี แต่ส่วนน้อย ก็เพราะอารมณ์ของเราไม่สามารถบังคับกันได้ เป็นธรรมดาของการแข่งขันที่ต้องมีแพ้ ชนะ ส่วนที่แพ้ก็จะปลอบใจตัวเองด้วยการร้องไห้ ส่วนคนที่ชนะก็จะให้กำลังใจตัวเองและอาจจะร้องไห้ออกมาด้วยความยิ่งดี
       ๔.) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กพอๆกับการส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
        
ตอบ มีการส่งเสริม จะเห็นจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็จะมีกิจกรรมให้นักเรียนได้เล่นและได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นการส่งเสริมให้เด็กเก่งวิชาการควบคู่กับมีสุขภาวะที่แข็งแรง
   
๕.) เมื่อเปิดภาคเรียนภายใน ๒ สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใดมีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึงผลการเรียนอ่อนสุขภาพไม่ดีมีปัญหาทางครอบครัวรวมถึงมีผลการเรียนดีมากเกรดเฉลี่ย๔.๐๐มาโดยตลอดซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
            ตอบ ครูประจำชั้นส่วนใหญ่เวลาเปิดภาคเรียนก็จะถามประวัติเด็กก่อน จะถามชื่อที่อยู่แต่ไม่ค่อยจะถามเรื่องสุขภาพของเด็กและเรื่องการเรียนของเด็กว่าเด็กมีผลการเรียนที่ผ่านมาเป็นเช่นไรเด็กมีปัญหาทางบ้านไหม?นี้คือสิ่งสำคัญที่ครูในอนาคตต้องทำความเข้าใจกับเด็กให้มากควรจะดูแลเอาใจใส่เด็กให้มากกว่านี้และเข้าหานักเรียน เด็กจะได้รู้สึกผูกพันกับครูมากขึ้นและมีความสุขในการเรียน
     ๖.) ครูประจำชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง)
         ตอบ อาจจะมีแต่ไม่มากนักเพราะโรงเรียนส่วนใหญ่เน้นที่วิชาการเด็กที่มีกลุ่มเสี่ยงก็จะจัดให้อยู่ในห้องเดียวกันเพื่อสะดวกในการดูแลปกครองเด็กโดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่ตามมาทำให้เด็กกลุ่มเสี่ยงมีความรู้สึกว่าตัวที่มีปัญหาอยู่แล้วกลับเพิ่มปัญหาอีก
   ๗.) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม)ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์การพัฒนาบุคลิกภาพการบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตฯลฯหรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงคโปร์เด็กอนุบาลต้องเรียนวิชาการควบคุมอารมณ์”)
          ตอบ ควรที่จะมีการจัดรายวิชาเลือกให้เด็กได้ควบคุมอารมณ์และให้เด็กได้เลือกรายวิชาที่ตนเองถนัดเด็กจะได้มีความสุขในการเรียนมากขึ้น
   ๘.) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
          ตอบ ถ้าปัจจุบันน้อยมาก  เพราะครูส่วนใหญ่เน้นที่วิชาการมากโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพจิตของเด็กว่าเด็กรู้สึกอย่างไรกับการเรียนที่เน้นแต่วิชาการ
  ๙.) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และพ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบหรือบุตรหลานของตนเองหรือไม่ฯลฯ
          ตอบ มีแต่ไม่ทั่วถึงและแบบประเมินรายละเอียดครูควรศึกษาจากพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียนก่อนการทบทวนคำถามดังกล่าวข้างต้นจะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหาในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทยโดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุลที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนาด้านสุขนิสัยสุขภาพกายสุขภาพจิตซึ่งเป็นเรื่องสำคัญจากการศึกษาแนวคิดเรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหาการบริโภคอาหารไร้คุณภาพ (Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเองปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวันยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจังฉันเชื่อว่าจะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์หรือแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมได้อย่างแน่นอนทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น