ยินต้อนรับ

by www.zalim-code.com

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่14

การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด(Mind Map)
(เพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูล อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้   จัดระเบียบความคิด )
          Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิด รอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันผังความคิด (Mind Map)
วิธีการเขียน Mind Map โดยละเอียด
          1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
         2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลาง     หน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
        3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
      4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
      5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
     6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มีความหมายชัดเจน
      7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
      8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน
การนำไปใช้
       1. ใช้ระดมพลังสมอง
       2. ใช้นำเสนอข้อมูล
       3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ
       4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ
       5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้
การคิดแบบหมวก 6ใบ
     จะเห็นว่า คนส่วนใหญ่นั้น มักจะเอาข้อเท็จจริง อารมณ์ หรือเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียงเพื่อหวังเป็นผู้ชนะ ซึ่งวิธีการคิด การหาเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นวิธีที่ผิดและเสียเวลา ดังนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 1970 เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบ การคิดแบบหมวก 6 ใบขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน

หมวกสีขาว - หมวกสีขาวนี้จะให้เราคิดถึงข้อมูลเท่านั้น  เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ล้วนๆ
หากคิดโดยใช้หมวกสีขาวก็จะเข้าใจเพียงแค่ อาจารย์สอนหนังสือในห้องและมีนักเรียนคุยกันเท่านั้น
หมวกสีแดง - หมวกสีแดงนั้นตรงกันข้ามกับสีขาว คือไม่สนใจ ข้อมูล แต่จะเน้นด้านอารมณ์และความรู้สึกเท่านั้น
เมื่อใช้หมวกสีแดงในการมองสถารณ์การณ์ข้างต้น เราจะมองได้ว่า อาจารย์โมโห เพราะรู้สึกว่าเด็กกำลังคุกคามและไม่ให้เกียรติในการสอน นักเรียนก็หงุดหงิดเพราะเพื่อนคุยแข่ง เรียนไม่รู้เรื่อง เพราะเพื่อนคุยแข่งกับอาจารย์

หมวกสีดำ - หมวกดำจะเน้น คิดโดยโจมตีจุดอ่อน หรือข้อเสีย ในเรื่องนั้น ผู้คิดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิด
ขึ้น ประโยชน์ของหมวกดำจะทำให้เราเข้าใจจุดอ่อนของสิ่งๆนั้น(หรือตนเอง) เพื่อ มองเห็นปัญหาได้
ในชั้นเรียนที่มีเด็กคุยแข่งกับอาจารย์นั้น เมื่อมองผ่านหมวกสีดำ เราจะเห็นว่า ชั้นเรียนนั้นเราไม่ได้อะไรเลย เสียเวลา

หมวกสีเหลือง - จะมองไปในด้านดีของสิ่งที่เราจะคิด พยายามหาสิ่งดีๆในสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงจะต้องขุดกันก็เถอะ
หากเรามองแบบหมวกสีเหลือง การที่เด็กคุยกันก็เหมือนกับการแบ่งโอกาสในการพูดอย่างเสมอภาค เด็กก็มีสิทธิจะคุยได้ด้วย  หรือไม่ก็เด็กคุยกันก็แสดงว่ามีเรื่องที่น่าจะสนุกสนาน บรรยากาศในห้องก็ไม่ตรึงเครียด นักเรียนที่คุยน่าจะเป็นคนมีอัธยาศัยดี

หมวกสีเขียว - คือความคิดที่สร้างสรรค์ นำมาซึ่งทางเลือกใหม่และวิธีแก้ปัญหาใหม่ เราต้องไม่ตัดสิน แต่ต้องตั้งข้อเสนอแนะความคิด ไอเดีย หรือมุมมองใหม่ๆขึ้นมา
ในเหตุการณ์ที่นักเรียนคุยกัน ครูอาจจะมองเห็นจุดอ่อนของตัวเอง แล้วกลับไปตีโจทย์ว่าทำไมเด็กไม่ตั้งใจเรียนแล้วหาวิธีการสอนใหม่ๆ    หรือ  อาจารย์อาจจะถือโอกาสพุดคุยกับเด็กบ้าง ถือโอกาสสร้างสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น 

หมวกสีฟ้า -  เป็นหมวกคิดของการวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน หมวกสีฟ้าจะเป็นเหมือนประธานของที่ประชุมเป็นผู้บอกว่า เมื่อไรควรสวม หมวกสีใดหรือเปลี่ยนสวมหมวกสีใด

การคิดแบบหมวกสีฟ้าอาจครอบคลุม ประเด็นต่างๆ อาทิ ถึงตอนนี้เรากำลังคิดแบบใดอยู่ และคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว อะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการทบทวนหลายรูปแบบ (หลายหมวกความคิด) และมีข้อน่าสังเกตหรือข้อท้วงติงใดบ้าง (เช่น กำลังหลงประเด็นอยู่หรือไม่ หรือใช้ความคิดแบบหมวกสีแดง มากไปหรือไม่)
      สรุปได้ว่าการเรียนแบบหมวก 6 ใบ หรือการเรียนแบบโครงงานก็ล้วนมีความสำคัญกันทั้งสองอย่างแต่อาจจะมีแนวความคิดที่แตกต่างกัน โดยหมวก 6 ใบจะสอนแบบหลากหลายความคิด ส่วนโครงงานสอนให้เด็กคิดแบบประสบการณ์ สามารถนำไปประยุกต์ไปใช้กับตัวเราเองได้ในการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น